ธรรมชาติส่งสัญญาณเตือน โลกวิกฤต ธุรกิจ สังคม ต้องปรับทิศทางใช้เทคโนโลยีจากพลังงานสะอาด หนึ่งไฮไลท์สำคัญใน SETA 2024 และ SustainAsia Week 2024 มหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่แห่งเอเชีย
ภาวะโลกเดือดนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น สภาพอากาศที่ร้อนจัดไม่เพียงแต่กระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ยังกระทบไปถึงทรัพยากรธรรมชาติ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ ตลอดจนปัญหาสังคม เศรษฐกิจอื่น ๆ ตามมา ภายในงานสัปดาห์แห่งความยั่งยืน SETA 2024 และ SustainAsia Week 2024 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 ที่ฮอลล์ EH100 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Low Carbon & Sustainable ASEAN Economy” ได้มีการเสวนาให้ความรู้ถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ รวมถึงการแชร์ความก้าวหน้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยี พลังงานสะอาดที่จะเข้ามาช่วยกอบกู้โลก
เริ่มจากเวที Knowledge Hub มีการพูดถึงหัวข้อ “Leave Carbon Behind, Not People” ซึ่งเนื้อหาหลักเป็นเรื่องของการทิ้งคาร์บอนไว้ครั้งหลัง จากวิทยากร และผู้มีบทบาทในการพัฒนาความยั่งยืน ดังนี้
กทม.ปรับเส้นเลือดฝอยในเมืองใหญ่
นายพรพรหม ณ.ส.วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารความยั่งยืนกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงนโยบายและการดำเนินการด้านโครงการสร้างพื้นฐานสีเขียวกรุงเทพมหานครว่า การปล่อยก๊าซมลพิษ หรือการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของกรุงเทพมหานคร มาจาก 4 ส่วนหลักๆ อย่างแรกคือเรื่องพลังงาน ซึ่งมากที่สุด ปล่อยกว่า 60% อีก 30% มาจากขนส่ง ที่เหลือเป็นเรื่องของขยะและน้ำเสีย โดยเราก็มีมาตรการจำกัด 4 ด้าน โดยโฟกัสที่พลังงานและขนส่ง วิสัยทัศน์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีแนวทางการบริหารเมืองและกรุงเทพมหานคร ซึ่งการบริหารเมืองเปรียบเสมือนร่างกาย ที่มีส่วนประกอบของเส้นเลือดหลัก และเส้นเลือดฝอย
ซึ่งถ้าดูเรื่องการขนส่งเส้นเลือดของกรุงเทพนั้น เรามีระบบขนส่งที่เป็นรถไฟฟ้าทั้งบนดินใต้ดินหลากหลายสายภายในปี 2028 คาดว่าเราจะมีรถไฟฟ้า 11 สาย รวมกว่า 300 สถานี ซึ่งมีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดูแลเรื่องนี้ ส่วนหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร คือการทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น เรามีบทบาทในการปรับผังเมืองที่เป็นเส้นเลือดฝอย ไม่ว่าจะเป็นฟุตบาท ทางเดินเท้า หรือเลนจักรยาน เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน ก็จะมีการปรับทางเดินที่สามารถหลบแดดหลบฝนได้
นอกจากนั้นยังมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ป่าในเมือง และ ‘สวน 15 นาที’ ในชุมชนต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของการสนับสนุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งโซล่าตามสำนักงานเขต โรงเรียน ฯลฯ และพลังงานสะอาดที่เกี่ยวข้องกับขยะ ซึ่งเรามีเตาเผา 500 ตันต่อวัน อีก 2 ปี (2559) สร้างเสร็จจะมีเตาเผา 2,500 ตันต่อวัน รวมทั้งหมดเป็นพลังานสะอาด 70 เมกกะวัตต์ และพิจารณาทำอีกโรงคือ 1,000 ตันต่อวัน เมื่อก่อนฝังกลบค่อนข้างเยอะเกินกว่า 50% ถ้าเตาเผาเปิดแล้ว ปี 2569 ก็จะลดการฝังกลบเหลือเพียง 20%
ธรรมชาติเริ่มส่งสัญญาณเตือน
คุณวิลาวัณย์ ปานยัง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเอ็มยู จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ธรรมชาติเริ่มส่งสัญญาณเตือนถึงโลก ยกตัวอย่างเช่น ที่ดูไบ เป็นประเทศที่แห้งแล้ง ตอนนี้กำลังเผชิญกับปัญหาฝนตกบ่อยมากขึ้น เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม หรือปรากฏการณ์หญ้าทะเลเริ่มตายจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งหญ้าทะเลมีความสำคัญต่อการช่วยดูแลระบบนิเวศ หรือปะการังที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล ตอนนี้เกิดการฟอกขาวจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น เมื่อบ้านของสัตว์ทะเลเสียหาย นอกจากเขาจะไม่มีบ้านสำหรับอยู่อาศัยแล้ว สุดท้ายอาจเสี่ยงตายและสูญพันธุ์ “โลกก็เหมือนตัวมนุษย์ ที่อยากจะลดความอ้วน กินอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ที่ผ่านมาเรากินแต่ Junk Food ทำให้หลายประเทศต้องมีนโยบายในการดูแลรักษาสุขภาพต่างกัน แต่มีสองเรื่องหลัก ๆ ที่เราต้องเดินหน้า คือ Carbon Neutrality ก็คือลดน้ำหนักให้ได้สมมติกิน 1000 แคลอรี่ก็ต้องลดให้ได้ทั้งหมด 1000 แคลลอรี่ ขณะที่ Net Zero คือพยายามลดแต่ก็ต้องเพิ่มบางอย่าง เช่นลดคาร์บอนในองค์กร พร้อมกับปลูกต้นไม้ชดเชยจากที่ปล่อยและยังลดไม่ได้”
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายตอนนี้คือ คนที่มีเงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น โลกร้อนก็เปลี่ยนไปใช้ EV หรือเปลี่ยนไปทำงานแบบ Work From Home ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ เพราะทุกอย่างมีต้นทุน ภาคเกษตรไม่สามารถที่จะทำงานที่บ้านได้ นี่คือความท้าทายที่เราจะต้องพิจารณาอย่างรอบครอบใช้รถอีวี เช่าหรือซื้อ เป้าหมายปลายทางเหมือนกัน ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและการบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันภัยธรรมชาติเกิดขึ้นทั่วโลก หน้าร้อนก็ร้อนสุด อีกทั้งฝนยังตกไม่หยุด เกิดปรากฏการณ์อ่างเก็บน้ำ เขื่อนแตกเพราะถูกออกแบบมาในตอนที่โลกยังไม่ร้อน แต่ ณ วันนี้ เรามีลูกระเบิดที่พร้อมจะระเบิดกว่า 3,000 กว่าลูกในประเทศไทยเพราะอ่างเก็บน้ำ เขื่อน ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนในตอนที่โลกยังไม่ร้อน น้ำฝนมากขึ้นเท่าไหร่ โลกร้อนขึ้น น้ำแข็งละลาย ทั้งหมดคือภัยธรรมชาติ จึงอยากชวนพี่น้องร่วมชาติ ให้ตระหนักถึงปัญหาของโลกตั้งแต่ตอนนี้สิ่งแวดล้อม โลกร้อน
นอกจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา ยังได้กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านไปใช้รถ EV พร้อมกับยกตัวอย่างในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ขับเคลื่อนเรื่องของ Thammasat Smart City โดยนำระบบเทคโนโลยีมาสร้างคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีภายในมหาวิทยาลัย ร่วมกับเอกชน ริเริ่มนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car (Electric Vehicle) มาใช้งาน พร้อมระบบเช่าระยะสั้นหรือ Car Sharing ผ่านแอปพลิเคชันและสถานีชาร์จไฟฟ้าทั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณรถยนต์ส่วนตัว ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษภายในมหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งส่วนที่จะช่วยโลก ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา ยังทิ้งท้ายด้วยว่า การเปลี่ยนไปใช้ EV ไม่ว่าจะเป็นระบบเช่า หรือซื้อ สุดท้ายแล้วปลายทางมีเป้าหมายเดียวกันคือช่วยกันลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
โลกร้อนไม่ใช่แค่การลดปล่อยก๊าซ แต่เสี่ยงถึงปัญหาสังคมและการอพยพถิ่นฐาน
ต่อมาในเวที Forum 1 ได้มีการให้ข้อมูลถึงการเตรียมตัวและการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดย คุณอาทิตย์ กริชพิพรรธ CEO & Founder บริษัท เอ แอ๊ดไวซอรี่ จำกัด กล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือโลกร้อน มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอนนี้เมืองไทยเรามีประชากรมากกว่า 60 ล้านคนเมื่อเทียบกับสัดส่วนคนทั้งโลก ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซแค่ 1% ดังนั้น ต่อให้เราพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับสัดส่วนทั้งโลกไทยมีส่วนลดได้ 0.5% ซึ่งจำนวนนี้แทบไม่มีผลอะไร แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำ แต่ทั้งนี้ เรื่องโลกร้อนไม่ใช่แค่การร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงอย่างเดียว คนทั้งโลกเสี่ยงที่จะเผชิญปัญหาสังคมด้านอื่น ๆ ตลอดจนกระทบเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน ความขัดแย้ง สงคราม ความตึงเครียดในองค์กร การขาดแคลนทรัพยากร ขาดแคลนอาหาร เกิดโรคภัยไข้เจ็บ
“โลกอาจเผชิญการแย่งชิงทรัพยากรบนแผ่นดิน ทั้งการหาดินเพาะปลูก น้ำสำหรับใช้เพื่อทำการเกษตร ผลผลิตการเกษตรน้อยลง สัตว์น้อยลงเรื่อย ๆ และที่สำคัญอาจนำมาสู่คนจำนวนไม่น้อยอยู่ในพื้นที่เดิมไม่ได้ เกิดการเคลื่อนย้านอพยพออกนอกประเทศของตนเอง เพื่อชีวิตที่ดีกว่าและการอพยพของคนจะเกิดขึ้นทั่วโลก”
คุณอาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทควรมีการประเมินความเสี่ยง โดยสิ่งที่ต้องมองมี 2 เรื่องคือ 1.ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.ดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มีอะไรบ้างที่รับได้ไม่ได้ ก็ต้องไปหาทางแก้ไข
ขณะที่ คุณวิวัฒน์ โฆษิตสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็นเนอร์ยี่ พลัส จำกัด กล่าวเสริมว่า ทุกธุรกิจ ทุกองค์กรต้องประเมินความเสี่ยง เรื่องโลกร้อน ว่าธุรกิจจะพบเจออะไร และจะมีมาตรการแก้ไขอย่างไร เพราะแต่ละธุรกิจจะได้รับผลกระทบต่างกัน เช่น ธุรกิจโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ วันดีคืนดี ไม่เคยโดนน้ำท่วม ก็กลับท่วม ดังนั้นต้องประเมินว่าธุรกิจโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ต้องหาแนวทางป้องกันด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือใส่เงินลงทุนเข้าไป ดูความยืดหยุ่น หรือซื้อประกัน หรือแม้แต่ธุรกิจ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทางการเกษตร ถ้าอากาศเปลี่ยน ผลผลิตก็เปลี่ยน เช่น สวนมะพร้าว ตอนนี้น้ำมะพร้าวราคาแพงขึ้นเท่าตัว ดังนั้นธุรกิจที่ต้องใช้น้ำมะพร้าวกระทบแน่นอน
ตอนนี้ถ้าดูในเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย มาจากภาคพลังงาน ขนส่งเป็นหลัก เป็นเรื่องจริงแต่ภาคเกษตรก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยยะเหมือนกัน คิดเป็นประมาณ 10% โดยที่ครึ่งนึงมาจากการปลูกข้าว ในขณะที่ตอนนี้กระแสผู้บริโภคใส่ใจเรื่องโลกร้อนมากขึ้น แม้ว่าข้าวไทยจะอร่อย แต่ถ้าไม่รักษ์โลก อาจจะเกิดการต่อรองราคา ดังนั้นจึงเป็นความกดดันที่เกษตรกรต้องปรับวิถีการเพาะปลูก ซึ่งตอนนี้รัฐ-เอกชน ก็มีแนวทางต่างๆ ออกมาเกี่ยวกับการปลูกข้าวลดโลกร้อน
“ใครทำตัว High Carbon จะอยู่ยาก ถ้าเป็นภาคธุรกิจไม่มีคนอยากทำงานด้วย หนึ่งในนั้นคือธนาคาร ที่ต้องปล่อยกู้ ดังนั้รนธุรกิจต้องรายงานการปล่อยคาร์บอนไปจนถึงซัพพลายเชน หากธนาคารจำเป็นต้องปล่อยกู้กับธุรกิจปล่อยคาร์บอนสูง อาจจะใช้คำว่า ขอดูแลพิเศษ หรือชาร์ตดอกเบี้ยแพงขึ้น ด้วยการช่วยหามาตรการในการกำจัด คาร์บอน”
ธุรกิจต้องจัดลำดับความสำคัญ
อย่างไรก็ตาม คุณวิวัฒน์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ธุรกิจต้องเริ่มทำคือจัดลำดับความสำคัญ เริ่มจากสำรวจตนเองก่อนว่าปล่อยคาร์บอนมากน้อยแค่ไหน ส่วนไหนปล่อยปริมาณมาก เพราะในอนาคตเราจะถูกบังคับให้ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์แน่นอน จากที่ใช้เชื้อเพลิง ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ EV ให้ได้ และที่สำคัญคือ สโคป 3 จะถูกถามถึงการปล่อยคาร์บอนในองค์กร (Carbon Footprint for Organization : CFO) และการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) ในอนาคต ต่อไปนี้ลูกค้าบริษัทใหญ่จากเดิมเทียบคุณภาพการใช้งาน ราคา แต่จะถามค่า CFP? ฝ่ายจัดซื้อก็จะเลือกสินค้าที่ค่า CFP ต่ำ เป็นต้น
“เราต้องศึกษากติกาโลก ตอนนี้สหภาพยุโรปมีมาตรการ CBAM สหรัฐอเมริกามีมาตรการ CCA เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า และมีรายงานว่าจีน ญี่ปุ่นก็กำลังจะมีมาตรการลักษณะนี้ออกมาเช่นกัน ดังนั้นขั้นแรก ก็ต้องดูกฏหมายคู่ค้าด้วย”
เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน ความหวังกอบกู้โลก
ไม่เพียงเท่านี้ ภายในฟอรั่มยังได้มีการเสวนาถึงเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ที่จะนำประเทศไปสู่เป้าหมาย Net Zero โดย คุณบัญชา ยาทิพย์ ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่งจำกัด (มหาชน) และคุณธีรศิลป์ ชมแก้ว ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดยสรุปว่า ตอนนี้พลังงานสะอาดที่เข้ามามีเรื่องของไฮโดรเจน ไม่เท่านั้นยังมีเทคโนโลยีการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน Carbon Capture and Storage หรือ CCS ที่เป็นความหวังของโลก ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงวางแผน ศึกษาการดักจับ และการขนส่งคาร์บอน รวมถึงหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการกักเก็บส่งไปยังหลุมขุดเจาะ ดังนั้นจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ผลักดันจากหลายๆ ภาคส่วน ต้องสนับสนุนกัน เนื่องจากเงินลงทุนในเรื่อง CCS ค่อนข้างสูง หรือประมาณ 1000-2000 เหรียญสหรัฐ ตลอดจนเรื่องกฏหมาย การวางท่อ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องฯลฯ
พัฒนาโซล่าเซลล์เชิงพาณิชย์
อีกหนึ่งเทคโนโลยี พลังงานสะอาด คือโซล่าฟาร์ม ดร.อลิษา กุญชรยาคง กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการเริ่มโซล่าฟาร์มเชิงพาณิชย์ ว่า ย้อนกลับไปปี 2007 รัฐบาลไทยเห็นความสำคัญการลดโลกร้อน และประกาศนโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดจากภาคเอกชน พอนโยบายภาครัฐออกมา ในฐานะเอกชน ก็ต้องเอานโยบายภาครัฐเข้าสู่โมเดลธุรกิจ ว่าคุ้มทุนหรือไม่ ในส่วนของโซล่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement หรือ PPA) สำคัญมากถ้าไม่มี ต่อให้ลงทุน
Post a Comment