สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ พว. ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาไทยที่เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning)

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ พว. ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาไทยที่เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning)
 เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.00-11.30 น. ณ อาคาร พว. ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)
ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ร่วมกับ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ประจำปีการศึกษา 2566-2568 โดยมี ดร.กัลยา มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ร่วมลงนามการดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือนี้จะอยู่ในรูปแบบของการประสานงานความร่วมมือขององค์กรทั้งสองแห่งดังกล่าวข้างต้น โดยตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้แบบ Active Learning การดำเนินงานตามกรอบแนวทางความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการศึกษาที่ได้กำหนดกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในปัจจุบันไปสู่การเรียนรู้ ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps 
ภายใต้หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standard-based Curriculum) ด้วยการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาชีพของผู้บริหาร ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูง เชิงระบบ GPAS 5 Steps มีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียน ให้มีความถนัดและความฉลาดที่แตกต่างกัน ผู้เรียนสามารถถักทอสร้างความรู้ได้เองจนถึงระดับหลักการ เกิดสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกด้าน รวมทั้งเกิดผลลัพธ์เป็นผลผลิต เช่น ชิ้นงาน โครงงาน นวัตกรรม จนส่งผลให้ผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนาเป็นนวัตกรได้ตามที่ยุทธศาสตร์ชาติกำหนดไว้

ไม่มีความคิดเห็น