หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงกรุณาประทานผ้าไตรกฐินให้ผู้แทนในองค์ฯเชิญทอดถวาย ประจำปี 2566
หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงกรุณาประทานผ้าไตรกฐินให้ผู้แทนในองค์ฯเชิญทอดถวาย ประจำปี 2566
วันนี้ (05/11/66) หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงกรุณาให้ นางสาวชญาณิศา ฐาณิชณาณัณ กรรมการผู้จัดการบริษัท เดอะไบบูรี่ พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เชิญผ้าไตรกฐินประทาน ทอดถวาย ณ วัดโพธิ์ทะเล (ร้าง) ตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
เพื่อถวายสมทบทุนสร้างศาลาเอนกประสงค์ และพัฒนาทัศนียภาพของวัด ในการทอดกฐินครั้งนี้ นายนพพล สุกิจปราณีนิจนายอำเภอค่ายบางระจัน ได้มอบหมายให้นางศศิธร ริ้วเหลือง ปลัดอาวุโสอำเภอค่ายบางระจัน พร้อมด้วย นายธนพนธิ์ ทองโต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล ผู้ใหญ่
พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนโดยมี นายปัญญา ใช้เฮ็ง นายอำเภอเมืองสิงห์บุรี เป็นประธานฝ่ายศิษยานุศิษย์ พร้อมด้วยคณะศรัทธาต่างจังหวัด ต่างอำเภอ พ่อค้า ประชาชน ร่วมทำบุญในการนี้วัดโพธิ์ทะเลเหนือ (ร้าง) ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้างกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 18 เดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2514 เป็นวัดร้างลำดับที่ 142 เลขที่โฉนด 7076 จำนวน 13 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา อาณาเขตของวัดโพธิ์ทะเลเหนือ (ร้าง) ทิศเหนือห่างจากบ่อทรายประมาณ 60 เมตร ทิศใต้ติดกับแหล่งลำน้ำสาธารณะประโยชน์ (บึงแฟบ) ทิศตะวันออกติดบ้านเรือนประชาชน และห่างจากวัดโพธิ์สามัคคี ประมาณ 800 เมตร ทิศตะวันตกห่างจากบ้านเรือนประชาชนประมาณ 500 เมตร
จากพงศาวดารของจังหวัดสิงห์บุรี ได้บันทึกไว้ในปลายยุคสมัยอยุธยา ราวประมาณปีพุทธศักราช 2308 ได้เกิดศึกสงครามระหว่างพม่ากับกรุงศรีอยุธยาขึ้น ในคราวนั้น ได้เกิดมีวีรชนชาวบ้านบางระจัน ชื่อนายทองแก้ว ซึ่งอาศัยทำมาหากินที่หมู่บ้านโพธิ์ทะเล พร้อมด้วยชาวบ้านโพธิ์ทะเล ได้ร่วมเข้ารบต่อต้านพม่าที่เดินทัพผ่านไปตีกรุงศรีอยุธยา โดยมี นายแท่น นายโชติ นายอินทร์ นายเมือง นายทองแก้ว นายดอก นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ ขุนสรรค์ นายทองเหม็น และนายพันเรือง เป็นผู้นำชาวบ้านต่อต้านพม่า และได้รับชัยชนะถึง 7 ครั้ง แต่ในครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันได้พ่ายแพ้แก่พม่า ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมระยะเวลา 5 เดือน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านรวมพระสงฆ์ จำต้องละทิ้งบ้านเรือน และวัด ไปหาที่ทำมาหากินในถิ่นอื่น โดยมีบางส่วนที่หลบๆซ่อนๆอยู่ด้วยความระหว่างระแวง ด้วยเหตุนี้วัดจึงขาดผู้ดูแล ทำให้โบราณสถานชำรุดโทรมไปตามกาลเวลาหลายร้อยปี
อีกประการหนึ่งแม่น้ำจักร์สิงห์ ซึ่งเป็นแม่น้ำหลักได้ตื้นเขินทำให้การเดินทางในสมัยนั้น ไม่สะดวกในการเดินทาง และใช้ชีวิตประจำวัน ต่อมาได้มีชาวบ้านเข้ามาจับจองที่ดินทำมาหากินอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่มีการซ่อมแซมวัดโพธิ์ทะเลแต่อย่างใด จึงทำให้สภาพวัดโพธิ์ทะเลเหนือยังคงรกร้างจนลืมเลือนไปจากความทรงจำ เหลือไว้แต่พระอุโบสถที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเพียงหลังเดียว ที่เป็นหลักฐานให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบันและมีพระพุทธรูปที่อยู่ประจำพระอุโบสถ 2 องค์ แต่ก็ได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก พระพุทธรูป 2 องค์นั้น ชาวบ้านเรียกขานนามว่าหลวงพ่อยิ้มและหลวงพ่อแย้ม โดยชาวบ้านได้เรียกตามลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูป จนถึงในปีพ.ศ. 2477 พระอาจารย์จ่าย ปูทองมา ได้ทำการบูรณะวัดจีน จึงได้นำชาวบ้านมาอัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสององค์ ไปไว้ที่วัดจีนจนปัจจุบัน ต่อมาอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เดินทางมาชำระประวัติชาวบ้านบางระจัน และท่านได้มีโอกาสได้ไปที่วัดจีน ได้เห็นพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ จึงได้บอกกับพระและชาวบ้านว่า พระพุทธรูปทั้ง 2 องค์นี้สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 21 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางหรือเมื่อ 400 ปีเศษ (จากประวัติวัดจีนราษฎร์ศรัทธาธรรมหมู่ที่ 5 ตำบลสระแก้ว อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี อยู่ห่างจากวัดโพทะเลเหนือไปประมาณ 7 กิโลเมตร)
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558 นาย ณัฐวนนท์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 พร้อมด้วยข้าราชการบำนาญและชาวบ้านหมู่ที่ 5 อีกจำนวนหนึ่งได้ประชุมกัน และพร้อมใจที่จะบูรณะวัดโพธิ์ทะเลเหนือ (ร้าง) ขึ้นอีกครั้งโดยได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษา พระอารี อริโย ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองโขลง และได้นิมนต์ท่านมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ การนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านที่ได้เช่าที่ดินของวัดโพทะเลเหนือ (ร้าง) ทำการเกษตรจำนวน 7 ไร่ทำการบูรณะวัดขึ้นดังที่เห็นในปัจจุบัน
มูลเหตุของกฐินประทานหม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ นี้ เนื่องด้วยหม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ พระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 4) ทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงปวารณาองค์เป็นพุทธมามกะ ตั้งหทัยถวายกฐินส่วนองค์ ซึ่งปีนี้ทรงกรุณาประทานผ้าไตรกฐินถวาย 6 วัด ที่ทรงพิจารณาเป็นองค์อุปถัมภ์ ซึ่งปีนี้ มีวัดที่ได้รับผ้าไตรกฐินประทาน ดังนี้ 1. วัดวังก์พง อ.ปรานบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 2.วัดโพธิ์ทะเล อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี 3.วัดอภิสิทธิ์หนองแวงม่วง อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ 4.วัดสว่างโนนจาน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 5.วัดแถวอรัญญา อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ 6.วัดชนะตาราม อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ ตามลำดับ โดยโปรดให้นายยุทธพงษ์ เอี้ยงอ้าย เลขานุการในองค์หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ประสานงานติดต่อวัดที่เชิญทอดถวาย พร้อมทั้งติดตามดำเนินการต่างๆในพิธี
Post a Comment