วช. หนุน มอ.วิจัย ยกระดับยางพารา สร้างสินค้าจากหวายเทียม วัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก สร้างรายได้ให้ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้

วช. หนุน มอ.วิจัย ยกระดับยางพารา สร้างสินค้าจากหวายเทียม วัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก สร้างรายได้ให้ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้

เมื่อวันที่ 5 เมษายน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และ สื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการ “การพัฒนาวัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ BCG” เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานการประยุกต์ใช้องค์ความรู้งานวิจัยเป็นฐานเพื่อผลิตเป็นวัสดุจักรสานสำหรับเฟอร์นิเจอร์จากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ตอบโจทย์ BCG Economy ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม “ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก” ที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนวิจัย แก่ ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการฯ โดยมี ศ.ดร.นันทรัตน์ นามบุรี คณบดีคณะวิทยาการจัดการ. คณะวิทยาการจัดการ ในฐานะหัวหน้าโครงการบริการโครงการชายแดนภาคใต้สู่ความสำเร็จ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วย รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการ ศอ.บต. รศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมยางพารา และ รศ.ดร.ศุภศิลป์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยียางเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการ “การพัฒนาวัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ BCG” เป็นผลงานของ ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ แห่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ วช. ให้การสนับสนุน เพื่อนำองค์ความรู้จากยางพาราที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้มาผสมกับขยะพลาสติก เพื่อผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือกระเป๋าสร้างรายได้แก่คนในชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ งานวิจัยนี้ถือเป็นการตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วช. จึงให้ความสำคัญและพร้อมขับเคลื่อนงานวิจัยใหม่ ๆ ให้กับชุมชนต่อไป

ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอาชีพเป็นเกษตรกรสวนยางพารา จึงดำเนินการวิจัยเพื่อยกระดับยางพารา ให้สามารถแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ ให้มีความมั่นคงทางด้านรายได้ โดยทางทีมวิจัยได้จัดทำงานวิจัยเป็นเส้นหวายเทียม จากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก เพื่อลดการใช้พลาสติก ซึ่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลในปัจจุบัน โดยขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งเสริมให้มีการแปรรูปหวายเทียมจากยาง สานเป็นกระเป๋าแฟชั่น และสินค้าอื่น ๆ เพื่อตอบโจทย์ตลาดสินค้าแฟชั่นภายในประเทศ พร้อมขยายเป็นอาชีพแก่กลุ่มคนเปราะบางในพื้นที่ ให้มีรายได้ที่ยั่งยืนในอนาคต
สำหรับยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก เป็นนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีแนวคิดในการลดปัญหาพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ลดการใช้ขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหารและสินค้าบริโภคซึ่งมีการใช้งานมากขึ้นในปัจจุบัน โดยยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก สามารถแปรรูปได้ง่ายและเร็ว สามารถอัดรูปเป็นสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
ช่วงบ่ายที่ผ่านมา คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ได้เดินทางไปวิสาหกิจชุมชนจักสานยางพาราจังหวัดสตูล ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูต เพื่อเยี่ยมชมการทำกระเป๋าและเฟอร์นิเจอร์ ที่ทำจากหวายเทียม โดยมี นางสาวสุชาดา นาคเล็ก ประธานวิสาหกิจชุมชนจักสานยางพาราจังหวัดสตูล ในการต้อนรับ และเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนจักสานยางพาราจังหวัดสตูล ว่า นักวิจัยได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงและคอยให้คำปรึกษา ทำให้รู้สึกว่าโครงการของ U2T เป็นโครงการที่ดี แต่ระยะเวลาสั้น 



ฉะนั้นทางกลุ่มไม่สามารถต่อยอดเพิ่มเติม จึงได้ไปเรียนรู้วิธีการสานเพิ่มเติมที่ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เพราะทางนั้นชำนาญ และมีวิธีการสานที่ปราณีตและมีการเล่นรวดลายดีกว่า จนกลับมาที่กลุ่มก็สามารถสานเองได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย อาทิ กระเป๋าสาน  เก้าอี้ และโต๊ะ ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น