วช. ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS หนุนเยาวชนให้เป็นนวัตกร สร้างนวัตกรรมในประเทศ จัดแข่งขันและมอบรางวัลหนูน้อยจ้าวเวหา Young Pilot Thai PBS ในงานวันนักประดิษฐ์ 2566

วช. ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS หนุนเยาวชนให้เป็นนวัตกร สร้างนวัตกรรมในประเทศ จัดแข่งขันและมอบรางวัลหนูน้อยจ้าวเวหา Young Pilot Thai PBS ในงานวันนักประดิษฐ์ 2566

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัด “การแข่งขันและมอบรางวัลหนูน้อยจ้าวเวหา Young Pilot Thai PBS เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถแก่เด็กและเยาวชน ให้มีพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ 
โดยได้ทำการอบรมให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนทั่วประเทศและศึกษาพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รอบคัดเลือก สนามที่ 1 โดย ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประธานในพิธีเปิดการแข่งขันฯ และมอบรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รอบคัดเลือก สนามที่ 1 

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการบินด้วยนวัตกรรม “โดรน” โดย นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล หัวหน้าโครงการวิจัยฯ และ นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ โดยในปีนี้ได้เพิ่มความเข้มข้นในการจัดโปรแกรมการแข่งขันหลากหลายประเภท พร้อมการตัดสินและมอบรางวัลผู้ชนะเลิศ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ภายในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” (Thailand Inventors’ Day 2023) ซึ่งงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-17.00 น. ณ อีเว้นท์ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนจาก วช. ในการพัฒนานวัตกรรมโดรนแปรอักษร (Drone Swarm Software) ที่พัฒนาขึ้นโดยสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เป็นโดรนสัญชาติไทย ผลิตโดยคนไทยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย และเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ สามารถควบคุมโดรนให้บินขึ้นพร้อมกันครั้งละหลาย ๆ ลำ และจัดเรียงตำแหน่งตามที่กำหนดโดยการสั่งงานจากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ซึ่งมีทีมเยาวชนนักประดิษฐ์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า การสร้างและการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีประสิทธิภาพการทำงานทัดเทียมกับของต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาได้นำไปจัดแสดงในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติฯ และตอบสนองแนวโน้มการนำโดรนแปรอักษรมาใช้แสดงแทนการจุดพลุไฟมากขึ้น ทั้งนี้ รู้สึกประทับใจที่เยาวชนทีมวิจัยจะได้นำสิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทย มาช่วยสร้างคน สร้างอาชีพ สำหรับการจัดแสดงโดรนแปรอักษร ในงานวันนักประดิษฐ์ปีนี้ เป็นการจัดแสดงแบบ Indoor ใน 4 ชุดการแสดง มีการออกแบบเป็นรูปภาพต่าง ๆ ได้แก่ พายุ ไวกิ้ง คลื่น ดอกไม้ ลูกโลก เป็นต้น 

ซึ่งจะก่อให้เกิดพัฒนาด้านการศึกษาให้เกิดการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เป็นการสร้างนวัตกรในประเทศ ให้มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์ในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น เกิดการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รองรับการขยายตัวของเทคโนโลยี ด้านการบินในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไปและผลการแข่งขัน หนูน้อยจ้าวเวหา Young ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

รอบคัดเลือก สานามที่ 1 ได้แก่ รองชนะเลิศอันดับ 3 ทีมลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 2 จากอุบลราชธานี รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 3 จากอุบลราชธานี รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมตะโกราย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ รางวัลชนะเลิศ ทีมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล

ไม่มีความคิดเห็น