คมกฤษ” ใช้ จุฬาฯโมเดล ต้นแบบพัฒนาเชียงคานแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ

“คมกฤษ” ใช้ จุฬาฯโมเดล ต้นแบบพัฒนาเชียงคานแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ 

PEA หนุน! ระบบไฟฟ้าลงดิน สร้างความทันสมัย/ปลอดภัย
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ส่งทีมงานช่วยเหลืออำเภอเชียงคาน นำสายไฟลงดิน สร้างความทันสมัย/ปลอดภัย เสริมแกร่ง ดึงดูดนักท่องเที่ยวไทย/เทศ เข้าเชียงคานมากกว่าปีละ 3 ล้านคน หวังสร้างรายได้ให้จังหวัดหลายร้อยล้าน ด้าน “คมกฤษ” โยธาธิการและพังเมือง จังหวัดเลย รุด! ขอบคุณ “ศุภชัย” ผู้ว่า กฟภ. ที่ส่งทีมงานช่วยเหลือ/แนะนำ หวังใช้  “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โมเดล” นำสายไฟลงดินทั้งระบบ สร้างเชียงคานเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของประเทศ

 นายคมกฤษ  ศิริยุทธแสนยากร โยธาธิการและพังเมือง จังหวัดเลย เปิดเผยว่า  ตามที่จังหวัดเลย ได้มีนโยบายให้ปรับปรุงพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเชียงคานที่เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ของจังหวัดเลยให้คงเอกลักษณ์บ้านเรือนของประชาชนที่มีอายุกว่า 100 ปี พร้อมทั้งทำการพัฒนาควบคู่ไปในทุกมิติ ให้มีความยั่งยืนไปพร้อมกัน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนำรูปแบบ โครงการ “จุฬา Smart Street Low Carbon” ที่สยามสแควร์ เป็นต้นแบบในการพัฒนา เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเมืองท่องเที่ยวที่เก่าแก่เชียงคานให้คงความสวยงาม สร้างคุณค่าอาคารบ้านเรือนเก่าให้ดูเด่นสง่า นำสายสื่อสาร ระบบประปา และระบบสายไฟฟ้าลงดินทั้งระบบ เพิ่มจุดท่องเที่ยวโดยหม้อแปลงใต้ดิน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โมเดล) สร้างฝาบ่อเป็นบ่อกระจก แสดงถึงความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า และสร้างความมั่นคงทางระบบไฟฟ้า ความปลอดภัยอัคคีภัย
 ซึ่งหม้อแปลงใต้ดินเป็นระบบไฟฟ้า ที่สามารถควบคุมพื้นที่ได้ และเป็นพื้นที่ ที่สามารถควบคุมเพลิงได้ดี 
จากแผนพัฒนาเชียงคานดังกล่าว นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และนายประพันธ์  สีนวล รองผู้ว่าการวิศวกรรม ได้ส่งทีมงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำโดย นายสิริวิชช์ พรพันธ์วัชรเดช รองผู้อำนวยการกองออกแบบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้ นายสิรณัฏฐ์ สิริวรภัสร์ หัวหน้าแผนกสำรวจแผนผัง และนายวิทย์ ศรีท้าว หัวหน้าแผนกออกแบบสายส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาช่วยเหลือ แนะนำการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่เชียงคาน ให้มีทันสมัย สร้างถนนคนเดินเชียงคานที่เป็นบ้านไม้เก่าแก่ ให้มีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้น เสริมสร้างความยั่งยืนด้านความปลอดภัยอัคคีภัยให้กับพี่น้องชาวเชียงคาน เพราะระบบไฟฟ้าใต้ดินจะมีเสถียรภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ  ช่วยเสริมสร้างทัศนียภาพอันสวยงาม ไม่บดบังหน้าร้าน หน้าบ้านของใคร ไม่มีสายไฟรกรุกรัง เสริมสร้างการท่องเที่ยวของเชียงคานให้มียั่งยืนและปลอดภัย รองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวเยี่ยมชมเชียงคานเมืองวัฒนธรรมริมโขง บ้านเชียงคาน 100 ปี ที่มีชีวิต สู่นวัตกรรมสังคมคาร์บอนต่ำ เพิ่มศักยภาพให้เชียงคานเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของประเทศ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาตลอดทั้งปีไม่ต่ำกว่า 3 ล้าน  สร้างรายได้เข้าจังหวัดหลายร้อยล้านบาทต่อปี  
“ต้องขอขอบพระคุณนายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และนายประพันธ์  สีนวล รองผู้ว่าการวิศวกรรม ที่ได้ส่งทีมงานของการไฟฟ้าภูมิภาค มาให้คำแนะนำการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ ซึ่งเป็นประโยชน์ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองเก่าอย่างเชียงคานให้คงเอกลักษณ์บ้านไม้เก่าแก่ กว่า 100 ปี อย่างยั่งยืน สร้างเชียงคานเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของประเทศ มีจุดเช็คอินให้นักท่องเที่ยวชมหม้อแปลงใต้ดิน Low Carbon เหมือนที่สยามสแควร์”    

นายสมเจตน์ แสงเจริญรัตน์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย กล่าวว่า จังหวัดเลย ในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปมาก โดยเฉพาะอำเภอเชียงคาน พบว่า ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชียงคานเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย หากมีการควบคุมดูแลไม่เป็นระบบ จะส่งผลกระทบตามมาในระยะยาวได้ ทรัพยากรจะเสื่อมโทรมเร็ว อาจไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้ วัฒนธรรมชุมชน มีสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ วิถีชีวิตชุมชนจะเปลี่ยนแปลง เพี่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการจัดการขยะมูลฝอย น้ำเสีย ระบบสาธารณูปโภคหากดูแลไม่ทั่วถึง จนกลายเป็นผลด้านลบต่อแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว ควรมีการพัฒนาเป็นระบบ จัดการการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน เพราะ อำเภอเชียงคาน เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี มีความเป็นเอกลักษณ์ด้านวิถีชีวิตและภูมิปัญญา บ้านเรือนเก่าแก่เป็นร้อยปี มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวทำให้เชียงคาน 








                                                                                                   

ไม่มีความคิดเห็น