วช. ร่วมกับ ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ม.นอร์ท ชม. และ ม.แม่โจ้ ยกระดับศิลปะแห่ง “ผ้าใยกัญชง” ภายใต้ภูมิปัญญาของคนเมืองเหนือ

วช. ร่วมกับ ม.ราชภัฏเชียงใหม่  ม.นอร์ท ชม. และ ม.แม่โจ้  ยกระดับศิลปะแห่ง “ผ้าใยกัญชง” 
ภายใต้ภูมิปัญญาของคนเมืองเหนือ 

  วันที่ 24 มกราคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ 
วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมผลสำเร็จโครงการวิจัยฯ ที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนวิจัย โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามผลสำเร็จ โครงการวิจัยภายใต้หัวข้อ เรื่อง “การต่อยอดองค์ความรู้สู่นวัตกรรมผลิตภัณฑ์กัญชงด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่”

 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ มหัทธนชัย หัวหน้าโครงการวิจัย แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และทีมวิจัย ดำเนินการเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าใยกัญชงผ่านการเล่าเรื่องของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ณ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ มหัทธนชัย หัวหน้าโครงการวิจัย

 
กล่าวว่า หัตถกรรมการทอผ้าจาก
ใยกัญชงของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมส่งเสริมคุณค่าทางภูมิปัญญาที่สืบทอดมาแต่โบราณ
การพัฒนานวัตกรรมเครื่องทอผ้าจากงานวิจัยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทอผ้าจากวิธีแบบดั้งเดิม  การเล่าเรื่องและการออกแบบลวดลายเชิงสร้างสรรค์ ผ้าใยกัญชง หรือ ผ้าที่ถูกถักทอมาจากต้นกัญชง ซึ่งเป็นพืชล้มลุก ลักษณะคล้ายกัญชา แต่เนื่องจากมีน้ำมันน้อยกว่ากัญชาและมีคุณสมบัติที่พิเศษเส้นใยเรียงตัวเป็นแนวตั้งอย่างสม่ำเสมอ สวยงาม มีความเหนียวทนทาน ดูดซับความชื้นได้เป็นอย่างดี 

ทำให้เสื้อผ้าใยกัญชงแท้นั้นแห้งเร็ว ระบายอากาศได้ดี นับเป็นวัตถุดิบสำคัญในการถักทอเสื้อผ้า ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าวจะมีส่วนช่วยพัฒนานวัตกรรมเครื่องทอผ้าใยกัญชงเพื่อทดแทนการทอผ้าแบบดั้งเดิม โดยนำองค์ความรู้มาถ่ายทอดแก่วิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง  บ้านแม่สาน้อย ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าใยกัญชงในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ชุดเดรสใยกัญชง เสื้อเอวลอยผ้าใยกัญชงเขียนเทียนตกแต่งลายปักม้ง เสื้อคลุมใยกัญชงจากสีธรรมชาติ หมวกใยกัญชง กระเป๋าปักลวดลาย เป็นต้น ซึ่งเศษวัตถุดิบเหลือทิ้งจากกัญชงจะถูกนำมาพัฒนาขึ้นให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สู่การจัดการขยะชุมชนให้เป็นศูนย์ (Zero waste) ก่อให้เกิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) และการให้ความรู้กับชุมชนส่งเสริมการตลาดแบบดิจิทัลผ่านระบบ (Platform Finver Application) สู่การยกระดับนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน 

ทั้งนี้ ผ้าใยกัญชง ผ้าทอที่มีลวดลายสวยงามสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งทำให้ได้รับความนิยมในประเทศไทยรวมถึงในต่างชาติ ตอบโจทย์คนทุกเพศทุกวัย หากท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง สามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ ผ่าน Facebook : ดาวม่าง เสื้อผ้าแฟชั่น เสื้อผ้าชนเผ่า ผ้าใยกัญชง หรือทาง Line : 081-162-1722

ไม่มีความคิดเห็น