เอสเอพี แนะการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ กุญแจสำคัญช่วยขับเคลื่อนองค์กรในประเทศไทยสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน (ESG)
เอสเอพี แนะการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ กุญแจสำคัญช่วยขับเคลื่อนองค์กรในประเทศไทยสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน (ESG)
• เอสเอพี เผยองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียยังไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน งานวิจัยใหม่ชี้ว่าการมุ่งเน้นที่การปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อลดความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวอาจเป็นอุปสรรคต่อผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน
• บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกได้นำข้อมูลองค์กรมาใช้เพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนภายใต้วิสัยทัศน์ปี 2573
กรุงเทพฯ 6 ธันวาคม 2565 – ผลการวิจัยล่าสุดโดย Oxford Economics และเอสเอพี (NYSE: SAP) เผยว่าองค์กรธุรกิจทั่วเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ยังต้องดำเนินการในอีกหลายแง่มุมเพื่อเพิ่มประโยชน์ที่จะได้รับจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ในขณะที่ 66 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจไม่คิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะบรรลุความยั่งยืนและทำกำไรให้องค์กรได้ในเวลาเดียวกัน แต่มีเพียง 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขาได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนในปัจจุบัน งานวิจัยเน้นย้ำว่าการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยมีผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนที่ดีขึ้นและบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และ ธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG
นายเอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า “ความยั่งยืนเป็นความท้าทายทางธุรกิจของคนรุ่นเราอย่างไม่ต้องสงสัย ธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีวิสัยทัศน์ที่ดีในด้านความยั่งยืน และได้เริ่มนำแนวปฏิบัติด้าน ESG มาใช้ในกลยุทธ์ของพวกเขา แต่จากงานวิจัยของเราพบว่า มีเพียงไม่กี่องค์กรเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์เหล่านี้”การปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance) เป็นทั้งปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนความยั่งยืนและเป็นความท้าทายสำหรับองค์กรในเวลาเดียวกัน จากผลสำรวจบ่งชี้ว่าประโยชน์ที่องค์กรได้รับเป็นอันดับแรกจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน คือ การที่องค์กรสามารถลดความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (46 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมากกว่าการปล่อยคาร์บอนที่ลดลงและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยการให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบมากเกินไปถือเป็นความท้าทายสูงสุดอันดับสองต่อความสำเร็จด้านความยั่งยืนของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาค APJ รองลงมา คือ การขาดการคิดค้นกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่
“เอสเอพี ในฐานะผู้นำด้านการจัดการทรัพยากรขององค์กร หรือ ERP มีประสบการณ์กว่า 50 ปี ในการช่วยธุรกิจต่างๆ ใน 25 อุตสาหกรรมในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด บริษัทของเราต้องการเห็นโลกที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ การก่อให้เกิดของเสียและความไม่เท่าเทียมกันเป็นศูนย์ (zero emissions, zero waste, and zero inequality) ซึ่งเราอยู่ในจุดที่สามารถช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น” นายเอทูล กล่าวเสริมการลงทุนในข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน
สำหรับองค์กรธุรกิจในภูมิภาค APJ ความแม่นยำของข้อมูล (Accurate Data) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน รองจากเรื่องการจัดหาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Sourcing) อย่างไรก็ตาม มีเพียงสี่ในสิบ (40เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขาลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวัดความยั่งยืนในธุรกิจของตน และในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน (41 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่าพวกเขากำลังฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืน
นาวสาวชฎิลพร นาคทิพย์ อำนวยการฝ่ายขาย เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า “กุญแจสำคัญในการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนและช่วยให้องค์กรต่างๆ บรรลุเป้าหมาย ESG คือ การใช้ข้อมูลองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประกอบการตัดสินใจที่มีข้อมูลมากขึ้น”เอสเอพี แนะนำกลยุทธ์การใช้ข้อมูล 3 ประการ เพื่อช่วยให้องค์กรในประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย ESG:
(1) ขั้นตอนแรก คือ การทำรายงานตามกฎระเบียบเพื่อสร้างความโปร่งใส จากข้อมูลของ BCG พบว่า องค์กรถึง 85 เปอร์เซ็นต์ มีความกังวลเกี่ยวกับการลดการปล่อยมลพิษ แต่มีเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่สามารถวัดการปล่อยก๊าซได้อย่างครอบคลุม องค์กรจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการติดตามผลกระทบของสภาพอากาศและข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอน
(2) ขั้นตอนที่สองคือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลด้านความยั่งยืนในเชิงปฏิบัติทั้งในกระบวนการทางธุรกิจและการตัดสินใจ มาตรวัดความยั่งยืน เช่น การปล่อยคาร์บอน การใช้วัสดุ ของเสีย และข้อมูลความหลากหลาย สามารถผนวกเข้ากับกระบวนการธุรกิจหลัก เช่น ซัพพลายเชน, ERP, การเงิน และกระบวนการจัดซื้อเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนทั่วทั้งธุรกิจ สิ่งนี้จะช่วยให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในบริษัท โดยผลิตภัณฑ์จะได้รับ
การออกแบบและผลิตเพื่อให้หมุนเวียนได้นานที่สุด
(3) ขั้นตอนที่สามคือ การขับเคลื่อนความยั่งยืนในเครือข่ายธุรกิจ ก้าวข้ามขอบเขตของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยการวัดผลและการจัดการความยั่งยืนทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าและเครือข่ายธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้นๆ
เอสเอพี มีเทคโนโลยีที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้และเป็นไปตามกฎระเบียบ เพื่อช่วยองค์กรวัดปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ตลอดจนมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยส่งเสริมให้องค์กรมีความคิดริเริ่มที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย SAP Responsible Design and Production ซึ่งช่วยให้
นักออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนได้ตั้งแต่เริ่มแรก SAP Product Footprint Management ช่วยติดตามความยั่งยืนตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และ SAP Sustainability Control Tower ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมของโครงการด้านความยั่งยืนขององค์กร
นำเป้าหมายความยั่งยืนมาปฎิบัติให้เป็นความจริงด้วยเทคโนโลยีของ เอสเอพีบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยดำเนินธุรกิจภายใต้กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ Combined PET, Integrated Oxides and Derivatives และ Fibers ด้วยสำนักงาน 147 แห่งใน 35 ประเทศ และพนักงานกว่า 26,000 คน บริษัทฯ วางแผนที่จะขยายการดำเนินงานทั่วโลกโดยคำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ในฐานะผู้ผลิต PET รีไซเคิลรายใหญ่ที่สุดของโลกสำหรับขวดเครื่องดื่ม บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ต้องการสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานทั้งหมดให้เป็นไปตามแก่นสำคัญขององค์กร (Purpose) ที่กำหนดขึ้นใหม่ นั่นคือ “Reimagining Chemistry Together to Create a Better World” บริษัทมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายระยะสั้นและระยะกลาง โดยสอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติ มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนทั่วโลก อินโดรามา เวนเจอร์ส ร่วมมือกับ เอสเอพี ตั้ งแต่ปี 2563 ผ่าน 'Project Olympus' เพื่อติดตั้งระบบ ERP ของเอสเอพี แบบบูรณาการ
นายแอนโทนี วาตานาเบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า "ภายใต้วิสัยทัศน์ปี 2573 อินโดรามา เวนเจอร์ส วางแผนที่จะลงทุนในการลดการใช้ถ่านหิน ลดระดับและดักจับคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตของบริษัทฯ และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยในประเทศไทยเราวางแผนที่จะเลิกใช้ถ่านหินในโรงงานสามแห่งให้เสร็จสิ้นภายในปี 2570 และขยายการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่โรงงานของเราภายในสิ้นปี 2566 สำหรับการวัดผลความคืบหน้าของการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ จะต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการจัดการข้อมูลด้าน
ความยั่งยืนและการรายงานของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงให้ข้อมูลในองค์กรมีความแม่นยำและมีคุณภาพมากขึ้น ความร่วมมือกับ เอสเอพี เพื่อพัฒนาระบบ ERP จะช่วยให้เราสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุดระดับโลกในการรายงานความยั่งยืน ตลอดจนสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเชิงธุรกิจซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรได้”
เยี่ยมชมศูนย์ข่าวเอสเอพี ติดตามเอสเอพี บน Twitter ได้ที่ @SAPNews
เกี่ยวกับ เอสเอพี (SAP)
ในฐานะบริษัทที่ช่วยพลิกโฉมองค์กรลูกค้าสู่ Intelligent, Sustainable Enterprise เอสเอพี เป็นผู้นำตลาดซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นระดับองค์กร ที่ได้ช่วยเหลือองค์กรขนาดต่างๆในทุกอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดย 87% ของรายได้จากการทำธุรกรรมของโลกนั้นเกิดขึ้นบนระบบของเอสเอพี นอกจากนี้เทคโนโลยีแมชชีน เลิร์นนิ่ง อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงของเอสเอพี ช่วยเปลี่ยนธุรกิจของลูกค้าให้เป็นอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เอสเอพีช่วยให้ผู้คนและองค์กรเข้าใจในธุรกิจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เราลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเราได้อย่างที่ต้องการและต่อเนื่อง ชุดแอปพลิเคชันและบริการครบวงจรของเอสเอพี ช่วยให้ลูกค้าธุรกิจและภาครัฐกว่า 25 อุตสาหกรรมทั่วโลก สามารถทำกำไร ปรับตัว และสร้างความแตกต่างได้ ด้วยเครือข่ายลูกค้าพาร์ทเนอร์ พนักงาน และผู้นำทางความคิดที่มีอยู่ทั่วโลก เอสเอพีช่วยให้โลกดำเนินงานได้ดีขึ้นและปรับปรุงชีวิตของผู้คน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sap.com
คำแถลงการณ์ใด ๆ ที่มีอยู่ในเอกสารฉบับนี้ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เป็นแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์เอกชนของปีพ. ศ. 2538 คำต่างๆ เช่น "คาดการณ์" "เชื่อ" "ประมาณการณ์" "คาดว่า", "ตั้งใจ" "อาจ" "ควร" และ "จะ" และสำนวนที่คล้ายคลึงกันที่เกี่ยวข้องกับเอสเอพี ถือเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า เอสเอพีไม่มีข้อผูกมัดในการเผยแพร่หรือแก้ไขแถลงการณ์ที่เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าใด ๆ ต่อสาธารณชน แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆที่อาจทำให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงแตกต่างอย่างมากจากที่คาดการณ์ไว้ ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการทางการเงินในอนาคตของเอสเอพี จะถูกกล่าวถึงอย่างละเอียดยิ่งขึ้นในเอกสารที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) รวมถึงรายงานประจำปีล่าสุดของเอสเอพี ในแบบฟอร์ม 20-F ที่ยื่นต่อ SEC ผู้อ่านต้องได้รับการเตือนว่าอย่าให้เชื่อมั่นในแถลงการณ์เชิงคาดการณ์เหล่านี้เกินควร ซึ่งได้ระบุไว้ในวันที่พูดเท่านั้น
© 2020 SAP SE สงวนลิขสิทธิ์.
SAP และผลิตภัณฑ์และบริการของ SAP อื่น ๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้รวมถึงโลโก้ที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ SAP SE ในประเทศเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ โปรดดู https://www.sap.com/copyright สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและประกาศต่างๆ
สำหรับลูกค้าที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เอสเอพี:
ศูนย์ลูกค้าทั่วโลก: +49 180 534-34-24
สำหรับลูกค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา: โทร 1 (800) 872-1SAP (1-800-872-1727)
Post a Comment