2 วิศวกรไทยพระจอมเกล้า สร้างชื่อให้ประเทศไทยก้องโลก คิดอุปกรณ์ไฟฟ้าฯลดการใช้ทรัพยากร ลดก๊าซเรือนกระจก 11.5% ในการผลิตไฟฟ้า
2 วิศวกรไทยพระจอมเกล้า สร้างชื่อให้ประเทศไทยก้องโลก คิดอุปกรณ์ไฟฟ้าฯลดการใช้ทรัพยากร ลดก๊าซเรือนกระจก 11.5% ในการผลิตไฟฟ้า
“2 วิศวกรไทย ดร.ศุภิตติ์ โชติโก นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ ผู้คิดค้น วิจัย หม้อแปลง Low Carbon อุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมระบบจัดการ ลดการใช้ทรัพยากร ลดก๊าซเรือนกระจก 11.5% ในการผลิตไฟฟ้า สร้างชื่อให้ประเทศไทย ก้องโลก IEEE เชิญโชว์นวัตกรรม Low Carbon ในการประชุมนานาชาติ IEEE ISGT-เอเชีย 2022 ว่าด้วย นวัตกรรมสมาร์คทริดเทคโนโลยี (เอเชีย) ที่ Marina Bay Sands ประเทศสิงคโปร์”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภกิตติ์ โชติโก หัวหน้าภาคประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดเผยว่า ตามที่ภาควิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ได้ร่วมกับนายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ คณะครุศาสตร์ไฟฟ้ากำลัง พระจอมเกล้าพระนครเหนือ สามัญวิศวกร สฟก 5732 ทำการศึกษา คิดค้น วิจัย หม้อแปลงไฟฟ้าที่สามารถติดตั้งใต้น้ำ และลดเรือนกระจก Low Carbon ได้ 11.5% เพื่อตอบโจทย์การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามที่รัฐบาลกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission ภายในปี ค.ศ. 2065 และทั่วโลกกำลังมุ่งดำเนินการอย่างแข็งขัน การคิดค้น วิจัย อุปกรณ์ไฟฟ้าหม้อแปลง Low Carbon ใช้ระยะเวลาคิดค้นพัฒนาและวิจัย นานกว่า 3 ปี พร้อมทั้งการทดลองใช้งานจริง เพื่อตอบสนองมวลมนุษย์ชาติในการลดคาร์บอน ลดโลกร้อน โดยอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถลดก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอน ได้ 11.5% และขณะเดียวกันสามารถลดพลังงานไฟฟ้าได้ในสัดส่วนที่เท่ากันด้วย มีความเหมาะแก่ผู้ประกอบการที่ต้องลดการใช้ทรัพยากร ลดวัตถุดิบ ลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง
“อุปกรณ์ไฟฟ้า หม้อแปลง Low Carbon ได้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศไทยและคนไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าว เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่คิดค้นโดยวิศวกรชาวไทย โดยมีตน และนายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ วิศวกรไฟฟ้ากำลัง พระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้คิดค้น ซึ่งผลงานดังกล่าวได้ตีพิมพ์วารสาร เชิงวิชาการระดับโลก ในงาน Innovation Smart Grid Technology Asia 2022 IEEE ISGT Singapore และพร้อมกันนั้น IEEE ได้เชิญเข้าร่วมแสดงนวัตกรรมในการประชุมนานาชาติ IEEE ISGT-เอเชีย 2022 ว่าด้วย นวัตกรรมสมาร์คทริดเทคโนโลยี (เอเชีย) ที่ Marina Bay Sands ประเทศสิงคโปร์ เพื่อทำการเผยแพร่นวัตกรรมลดก๊าซเรือนกระจกและประหยัดพลังงานให้ชาวโลกได้รู้จักนวัตกรรมของคนไทย ช่วยลดโลกร้อน”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภกิตติ์ กล่าวต่อว่า IEEE เป็นองค์กรผู้ประกอบวิชาชีพทางเทคนิครายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งอุทิศตนให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ ขอประกาศเปิดตัววารสารที่เปิดให้เข้าถึงอย่างเสรีเต็มรูปแบบ (gold open access) ครอบคลุมเทคโนโลยีหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นโทรคมนาคม คอมพิวติ้ง วิศวกรรมชีวการแพทย์ เทคโนโลยียานยนต์ การประมวลสัญญาณ การใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ไฟฟ้า พลังงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย
IEEE เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทั้งยังเป็นผู้นำระดับโลกในแวดวงวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ตีพิมพ์วารสารระดับท็อป 24 ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและระบบอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 23 ฉบับ ซึ่งกองบรรณาธิการ IEEE จึงมีความอิสระขับเคลื่อนด้วยความมุ่งมั่น ในการตีพิมพ์บทความคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยที่มีความล้ำหน้า หรือความก้าวหน้าทางนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทั่วโลกต่างยอมรับในวารสาร IEEE
Post a Comment